หนุมาน หน้ากระบี่ เนื้อไม้รักซ้อนแกะ หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ

หนุมาน หน้ากระบี่ เนื้อไม้รักซ้อนแกะ หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุล ปากเกล็ด นนทบุรี สุดยอดเครื่องรางไม้แกะ ผู้ใดบูชาจะเจริญด้วยพุทธานุภาพอำนาจบารมี เมตตามหานิยม




1 ในชุดเบญจภาคีเครื่องรางที่มีกลุ่มนักอนุรักษ์ชอบสะสมเครื่องราง และผู้ที่เสาะหามาเป็นเจ้าของ นั่นก็คือ หนุมาน หน้ากระบี่ เนื้อไม้รักแกะ ซึ่งสร้างโดย หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุล ปากเกล็ด นนทบุรี

หลวงพ่อสุ่น นั้นไม่มีการเรียนอาคมจากพระเกจิอาจารย์ท่านใด ได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะร่ำเรียนมาจาก หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง และท่านเองก็เป็นสหธรรมิกของ หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง และท่านยังเป็นพระคณาจารย์ผู้ลงอักขระบนแผ่นทองแดงใช้เป็น มวลสารในการจัดสร้างเหรียญที่ระลึก วัดราชบพิธ ครั้งที่4 (พ.ศ.2481) หลวงปู่กลิ่น ท่านได้กล่าวกับหลวงพ่อสุ่นว่า “เมื่อร่ำเรียนวิชามาแล้ว ก็ต้องทำของแจกชาวบ้านบ้าง”


หนุมาน หน้ากระบี่ ที่ หลวงพ่อสุ่น ได้สร้างขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไม้พุดซ้อน และรักซ้อน ที่ปลูกไว้หน้ากุฏิของท่าน เมื่อท่านไปบิณฑบาตมาแล้วฉันภัตหารเสร็จ หลวงพ่อท่านจะนำบาตรมาล้างแล้วนำน้ำที่ล้างบาตรรดที่ต้นไม้พุดซ้อน และต้นไม้รักซ้อน ทำเช่นนั้นอยู่นานหลายปี จนเจ้าต้นไม้ทั้ง 2 ต้น เกิดตายพราย ท่านจึงได้สั่งให้ลูกศิษย์ขุดขึ้นมาเอาต้นและราก มาผึ่งแดดให้แห้ง สับเป็นท่อนๆ ได้ว่าจ้างช่างให้แกะ

หนุมาน ในยุคแรกของหลวงพ่อนั้นสร้างจากไม้ต้นรักซ้อนและต้นรักซ้อน เมื่อแกะเสร็จแล้วเป็นตัวหนุมาน นำมาใส่ในบาตรแล้วนำไปปลุกเสกทุกคืน โดยท่านจะปลุกเสกด้วย อุคหนิมิต คือ การนิมิตที่จำติดตาลืมตาก็เห็น เสกจนหนุมานกระโดดออกจากบาตรได้ขึ้นมาดับเทียนชัยที่จุดเอาไว้ที่ขอบปากบาตร เพราะหนุมานนั้นได้ถูกกำกับด้วย หัวใจหนุมาน ไว้ทุกตัว

เมื่อปลุกเสก หนุมาน สำเร็จ หลวงพ่อสุ่น ท่านก็จะเก็บไว้แจกให้กับคนทั่วไปโดยไม่เลือกที่รักที่ชัง และไม่ได้ตั้งราคาว่าจะเท่าไร ทุกคนที่ได้ หนุมาน ของท่านกลับไปบูชาพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเครื่องรางที่ดีในด้านเมตตาค้าขายและแคล้วคลาด เครื่องราง หนุมาน ไม้แกะนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นช่างชาวบ้าน เรื่องของศิลปะนั้นจะเรียบง่ายไม่ซับซ้อน สังเกตดูว่าเค้าหน้าแบบปากจะแหลม นั่งยองๆ จับเข่า อ้าปาก เห็นลิ้นกับฟันไม่มีลวดลายและเครื่องทรง

แต่ถ้าหากเป็นหน้าโขนก็จะมีลวดลายที่งดงามอ่อนช้อย ไม้ที่ท่านแกะมาผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันจะมีความแห้งของไม้ ไม้ภายนอกจะมีความแตกของไม้ที่แห้งตามธรรมชาติ นอกจากนี้ก็ยังมีงานแกะด้วยงาช้าง ในปัจจุบันนี้ ได้มีงานเลียนแบบเครื่องราง หนุมาน ของหลวงพ่อสุ่น แต่จะเห็นได้ว่า เป็นการเลียนแบบ เพราะความเก่าของไม้ไม่ได้เนื่องจากมีความแห้งไม่พอ ควรจะพิจารณาให้ดีในหามาบูชาหรือสะสม การสร้างเครื่องราง หนุมาน นั้นท่านก็จะสร้างน้อย เนื่องจากไม้รักซ้อนและไม้พุทซ้อนตายพรายหายาก

พระคาถากำกับหนุมานให้ว่าดังนี้ ตั้งนะโม 3 จบ

“นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธัง โธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห”

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Free advertising
top